วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2559

ที่มาของการประมง

ความเป็นมา
ประเทศไทยนับได้ว่าเป็นผู้นำในภาคการประมง ผลผลิตรวมของสัตว์น้ำในช่วงปี 2538 - 2547 อยู่ในระดับ 3.6 - 4.1 ล้านเมตริกตัน และในปี 2547 ผลิตภัณฑ์มวลรวมของภาคประมง (GDP) มีมูลค่า ประมาณ 105,400 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นประมาณร้อยละ 1.6 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ หรือ ประมาณร้อยละ 16.2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคการเกษตร อาชีพประมงมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจ โดย เป็นแหล่งที่มาของรายได้ การว่าจ้างแรงงาน และก่อให้เกิดอุตสาหกรรมต่อเนื่องอีกมากมาย เช่น อุตสาห- กรรมการต่อเรือ โรงงานแช่เยือกแข็ง โรงงานผลิตภัณฑ์ต่างๆ และโรงงานปลาป่น เป็นต้น ผลผลิตสัตว์น้ำ นอกจากเป็นแหล่งอาหารโปรตีนที่สำคัญสำหรับประชากรในประเทศแล้ว ยังสามารถส่งออกนำเงินตราเข้า ประเทศอีกด้วย สัตว์น้ำที่ผลิตได้ใช้บริโภคภายในประเทศและเพื่อการส่งออก การบริโภคสัตว์น้ำของคน ไทยต่อหัวต่อปีในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา อยู่ระหว่าง 25 - 35 กิโลกรัม สำหรับมูลค่าการส่งออกได้เพิ่มขึ้นโดย ตลอด โดยในปี 2547 ไทยเกินดุลด้านการค้าสัตว์น้ำประมาณ 125,200 ล้านบาท
ปริมาณผลผลิตสัตว์น้ำรวมของประเทศ ได้มาจากการทำประมงทะเลเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้เพราะ ประเทศไทยมีขีดความสามารถในการทำประมงทะเลสูง เนื่องมาจากชาวประมงไทยมีความสามารถ และ สภาพภูมิประเทศเอื้ออำนวยให้ประเทศไทยมีทรัพยากรสัตว์น้ำที่อุดมสมบูรณ์ด้วย ประเทศไทยตั้งอยู่บน คาบสมุทรอินโดจีนตอนล่างซึ่งมีฝั่งทะเลทั้ง 2 ด้าน ฝั่งทะเลที่ติดกับอ่าวไทยมีความยาวประมาณ 1,785 กิโลเมตร ส่วนฝั่งที่ติดกับทะเลอันดามัน มีความยาวประมาณ 740 กิโลเมตร รวมความยาวชายฝั่งทะเล ทั้งสิ้นประมาณ 2,615 กิโลเมตร และพื้นที่ท้องทะเลชายฝั่ง โดยเฉพาะอ่าวไทยมีไหล่ทวีปกว้างใหญ่เหมาะ แก่การทำประมง การประมงทะเลของไทยได้เริ่มพัฒนาอย่างจริงจังภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดย เริ่มแรกเป็นการขยายขอบเขตการทำประมงปลาทูด้วยเครื่องมือประเภทอวนล้อมจับ ต่อมาในปี 2504 จึงได้ มีการนำเครื่องมือประมงแบบอวนลากแผ่นตะเฆ่ ซึ่งมีประสิทธิภาพในการจับสัตว์น้ำหน้าดินสูงเข้ามา ทดลองใช้ในอ่าวไทย และประสบผลสำเร็จอย่างมากในเวลาต่อมา ประกอบกับการค้นพบแหล่งประมง ใหม่ๆ ในน่านน้ำนอกอาณาเขตตั้งแต่ปี 2509 เป็นต้นมา จึงทำให้การประมงทะเลเริ่มมีการพัฒนาอย่าง รวดเร็ว
ผลจากการพัฒนาการประมงทะเล ตั้งแต่ปี 2503 เป็นต้นมา ส่งผลให้ผลผลิตจากการทำประมง ทะเลขยายตัวอย่างรวดเร็ว และมีผลผลิตสูงถึง 2 ล้านเมตริกตัน เป็นครั้งแรกในปี 2520 และมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากวิกฤตราคาน้ำมันในปี 2523 การทำประมงทะเลในน่านน้ำประกอบด้วยการประมงพาณิชย์และการ ประมงพื้นบ้าน โดยผลผลิตจากการประมงพาณิชย์คิดเป็นร้อยละ 90 ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (ปี 2538 - 2547) ผลผลิตประมงทะเลในน่านน้ำไทยมีแนวโน้มลดลง จากปริมาณ 1.9 ล้านเมตริกตัน ในปี 2538 เหลือ 1.5 ล้าน เมตริกตัน ในปี 2547 หรือลดลงประมาณร้อยละ 23 โดยองค์ประกอบสัตว์น้ำแยกประเภทหลัก ได้แก่ ปลาเพื่อการบริโภคคิดเป็นร้อยละ 59.4 ปลาเป็ด ซึ่งใช้เป็นอาหารสัตว์ ร้อยละ 26.4 หมึก ร้อยละ 7.0 กุ้ง ร้อยละ 3.2 ปู ร้อยละ 1.6 หอย ร้อยละ 1.3 ส่วนที่เหลือเป็นสัตว์น้ำอื่นๆแต่อย่างไรก็ตาม ความสามารถในการปรับตัวของชาวประมง ทั้งรูปแบบการทำประมงและการแสวงหาแหล่งประมงนอกน่านน้ำ ทำให้ผลผลิตสูงขึ้นอีก และสูงสุดในปี 2543 ประมาณ 2.77 ล้านเมตริกตัน และมีแนวโน้มลดลงเล็กน้อยในปี 2547 เหลือ 2.64 ล้านเมตริกตัน ซึ่งเป็นผลผลิตที่ได้จากการทำประมงในน่านน้ำไทยประมาณร้อยละ 56 และอีกร้อยละ 44 ได้จากการทำประมงนอกน่านน้ำ
จากสถานการณ์การประมงทะเลในน่านน้ำไทยที่นับวันจะประสบปัญหา อันเนื่องมาจากความ เสื่อมโทรมของทรัพยากรสัตว์น้ำที่มีมากขึ้น เรือประมงไทยจำเป็นต้องออกทำการประมงไกลฝั่งมากและนานขึ้น จนกระทั่งกระจายไปทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียใต้ โดยเรือประมงไทยทำการประมงอยู่ บริเวณตอนใต้ของทะเลจีนใต้ ไหล่ทวีปซุนดา (บริเวณตอนใต้ของเวียดนาม) ฝั่งตะวันออกของมาเลเชีย ซาราวัค น่านน้ำอินโดนีเชีย ช่องแคบมะละกา มะริด อ่าวเมาะตะมะ ฝั่งอาระกัน ตอนใต้ของบังคลาเทศ อินเดียฝั่ง ตะวันออก และมหาสมุทรอินเดีย ในช่วงต้นทศวรรษที่ 70 ประเทศไทยกลายเป็นประเทศที่ทำการประมงระยะไกล (Distant Water Fishing Nation)
การประมงทะเลของไทยค่อนข้างซับซ้อน เนื่องจากใช้เครื่องมือหลายชนิด และเรือประมงมี ขนาดแตกต่างกัน นอกจากนั้นสัตว์น้ำที่จับได้มีหลากหลายชนิด (Multi-species) การประกอบกิจการประมง สามารถแยกได้เป็นการประมงพาณิชย์และการประมงพื้นบ้าน ซึ่งเป็นการแยกตามชนิดของเครื่องมือประมง บริเวณทำการประมงและสภาพสังคมเศรษฐกิจ การที่การประมงทะเลค่อนข้างมีโครงสร้างที่ซับซ้อน และ เกี่ยวโยงกับกลุ่มผลประโยชน์ที่แตกต่างกันเป็นจำนวนมาก จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะเกิดปัญหาต่างๆ ขึ้น ทั้งที่ เกิดจากการใช้ทรัพยากรประมงภายในประเทศเอง และที่เกิดจากผลกระทบจากภายนอกประเทศ
ปัญหาเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรประมงที่เกิดขึ้นโดยทั่วไปนั้น มีสาเหตุสืบเนื่องจากลักษณะ ของทรัพยากรประมงเอง ทั้งนี้เพราะทรัพยากรประมงเป็นทรัพยากรร่วม (Common property resource) ไม่มี ผู้หนึ่งผู้ใดเป็นเจ้าของทรัพยากรประมงโดยเฉพาะ หรืออาจกล่าวได้ว่าทรัพยากรประมงของประเทศใดก็มี ประชาชนของประเทศนั้นเป็นเจ้าของ ดังนั้น จึงไม่มีผู้ใดมีสิทธิ์เด็ดขาดในการใช้ทรัพยากรประมง หรือ ป้องกันไม่ให้ผู้อื่นมาใช้ได้ ในการประกอบกิจการประมงจึงเปิดโอกาสให้ผู้มีทุนมีความสามารถเข้ามา ประกอบอาชีพได้โดยเสรี (Open access) โดยต้นทุนทำประมงของชาวประมงไม่ได้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง และตราบใดที่มีผู้เข้ามาทำประมงใหม่อยู่เรื่อยๆ ผลที่ตามมาก็คือ มีการใช้ทรัพยากรประมงมากเกินควร ทำ ให้ทรัพยากรประมงเสื่อมโทรมอย่างรวดเร็ว
ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรประมงของประเทศไทยมีสาเหตุหลักมาจากการทำประมง ทะเลในอดีตให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูง จึงมีผลให้การพัฒนาการประมงเป็นไปอย่างรวดเร็ว จนทำให้ เกิดการทำประมงมากเกินไป (Over-fishing) จากการเพิ่มขึ้นทั้งจำนวนและประสิทธิภาพของเรือ เครื่องมือ และวิธีการทำประมง มีการนำทรัพยากรขึ้นมาใช้อย่างไม่คุ้มค่า จนในที่สุดผู้ประกอบอาชีพประมงเองประสบภาวะขาดทุนการใช้ปัจจัยการผลิตทำประมง เช่น ทุน แรงงาน ถูกใช้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น ถ้าหากไม่มีการจัดการทรัพยากรที่เหมาะสมแล้ว มิใช่เพียงแต่ทรัพยากรที่อยู่จะถูกทำลายเท่านั้นแต่ยังเกิดผลเสียต่อผู้ประกอบอาชีพประมงเอง และจะมีผลกระทบถึงผู้บริโภค ตลอดจนเศรษฐกิจของประเทศโดยส่วนรวมด้วย
ในอดีตที่ผ่านมา รัฐบาลได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการประกอบอาชีพประมง ทะเลอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับวางนโยบายตลอดจนแนวทางต่างๆ เพื่อให้การพัฒนาการประมงทะเลเป็นไป อย่างราบรื่นและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวม แต่การนำนโยบายมาปฏิบัติให้เกิดผลสำเร็จนั้นอาจไม่ใช่ เรื่องง่าย เพราะต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ที่เกี่ยวข้องในกิจการประมงด้วย ดังนั้น การแก้ไขปัญหาที่เป็น รูปธรรมที่ผ่านมาจึงอาจเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า นอกจากนั้นประเทศไทยยังอยู่ในสังคมโลกซึ่งรัฐบาล จะต้องปฏิบัติตามพันธะกรณีและระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ และในขณะเดียวกันก็ต้องปกป้องผลประโยชน์ของ ประเทศด้วย จึงยิ่งทำให้การบริหารการประมงมีข้อจำกัด และเงื่อนไขมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่จำเป็นต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน คือ การทำให้ทะเลไทยคงความ สมบูรณ์ดังเช่นในอดีต เนื่องจากทรัพยากรประมงเป็นทรัพยากรธรรมชาติประเภทที่สร้างขึ้นใหม่ได้ (Renewable resource) ดังนั้น การบริหารจัดการอย่างมีระบบจะช่วยให้ทรัพยากรสัตว์น้ำฟื้นตัวได้ การ แก้ปัญหาที่จะสัมฤทธิ์ผลเป็นรูปธรรมนั้น สมควรแก้ที่สาเหตุของปัญหา และป้องกันมิให้ปัญหานั้นเกิดขึ้น ได้อีก ในอดีตที่ผ่านมายังไม่เคยมีการควบคุมอย่างจริงจังในการเข้ามาประกอบกิจการประมง หรือไม่มีการ ควบคุมกำลังการผลิตประมง (Fishing capacity) อย่างเหมาะสมกับสภาพทรัพยากร ในขณะที่การออกไปทำ ประมงนอกน่านน้ำไทยของเรือประมงไทยต้องเผชิญกับปัญหาอุปสรรคต่างๆ เกิดปัญหาต่อธุรกิจการประมง และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รัฐบาลได้ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างดีและได้พยายามแก้ปัญหามา โดยตลอด แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จมากนัก ดังนั้น จะต้องเร่งดำเนินการโดยจัดทำแผนแม่บทการจัดการ ประมงทะเลเพื่อการจัดการอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ทั้งในน่านน้ำและนอกน่านน้ำไทย เพื่อให้ ผลประโยชน์เกิดขึ้นแก่ส่วนรวมอย่างแท้จริง