ประโยชน์

ประโยชน์ของทรัพยากรประมง

อย่างไรก็ตาม การเลือกหนทางที่จะฟื้นฟูทรัพยากรประมงโดยการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลนี้ จะเกิดประโยชน์สูงสุด เมื่อมีการจัดการที่ดี มีการบริหารการประมงที่ถูกต้อง สอดคล้องกับหลักการอนุรักษ์ทรัพยากรประมงในพื้นที่และฤดูกาลต่างๆ และต้องควบคุมอัตราการลงแรงประมงให้เหมาะสม ควบคุมชนิดและวิธีการประมงให้เป็นไปตามมาตรการที่วางไว้ ซึ่งการควบคุมดูแลของกรมประมงในช่วงที่ผ่านมามีขีดจำกัด ทั้งทางด้านงบประมาณและอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ เพื่อแก้ปัญหานี้ ชาวประมงตลอดจนองค์กรต่างๆ ในชุมชนประมงต้องเข้ามามีส่วนร่วมและเป็นผู้นำที่สำคัญในการจัดการ การใช้ประโยชน์จากแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล เพื่อไม่ให้เกิดการลงแรงทำการประมงเกินกำลังการผลิตของสัตว์น้ำในแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล ซึ่งจะส่งผลต่อการทำลายพันธ์สัตว์น้ำในน่านน้ำไทยให้เสื่อมโทรมลงไปมากกว่าเดิม แหล่งอาศัยสัตว์ทะเล ช่วยฟื้นฟูทรัพยากรประมงให้อุดมสมบูรณ์ได้ยั่งยืนต้องประกอบกับการจัดการใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสมจากผู้ใช้ประโยชน์ทุกฝ่ายด้วย

กองหินใต้น้ำ
แหล่งอาศัยสัตว์ทะเล

ภาพที่ 1 ลักษณะกองหินใต้น้ำและแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล

การจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล เป็นการเพิ่มผลผลิตทางการประมงให้สูงขึ้น เพราะจะดึงดูดสัตว์น้ำให้เข้ามาอยู่อาศัยมากขึ้น ในไม่ช้าจะมีสัตว์น้ำหลากหลายชนิดเข้ามาหลบภัย อยู่อาศัย วางไข่ แพร่พันธุ์ ทำให้พื้นท้องทะเลที่ปราศจากแนวกองหินใต้น้ำ หรือแนวปะการังธรรมชาติ กลายเป็นแหล่งที่มีสัตว์น้ำชุกชุม เกิดเป็นระบบนิเวศที่ซับซ้อนและสมบูรณ์อย่างต่อเนื่อง เป็นประโยชน์ต่อชาวประมง และการออกแบบการจัดวางแท่งวัสดุเป็นแถว หรือเป็นกรอบล้อมรอบพื้นที่อนุรักษ์ยังสามารถเป็นแนวป้องกันการทำการประมงผิดกฎหมาย จากเครื่องมือประมงพาณิชย์ เช่น อวนลาก อวนรุนอย่างไรก็ตามในเขต 3,000 เมตร จากฝั่งได้

วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์สำคัญของการสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล คือ
1. เพื่อพัฒนาแหล่งทำการประมงบริเวณชายฝั่งให้อุดมสมบูรณ์
2. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาอาชีพในด้านการประมง
3. เพื่อช่วยสนับสนุนมาตรการอนุรักษ์ และการจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำชายฝั่ง
4. เพื่อลดปัญหาการขัดแย้งระหว่างชาวประมงทะเลพื้นบ้านและชาวประมงพาณิชย์
5. เพื่อลดปัญหาการว่างงาน ของชาวประมงทะเลพื้นบ้าน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น